เมนู

ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย
ทั้ง 3 ปัจจัย เหมือนกับเหตุปัจจัย ในปฏิจจวาระ.

9. อุปนิสสยปัจจัย


[116] 1. ธรรมที่เป็นทั้งเหตุธรรมและสเหตุกธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งเหตุธรรมและสเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
เหตุธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรมทั้งหลาย ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย.
เหตุธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสเหตุกธรรมแต่
ไม่ใช่เหตุธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
เหตุธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรมทั้งหลายและสัมปยุตตขันธ์
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
พึงถามถึงมูลทั้งหลาย แห่งหัวข้อปัจจัยทั้งหลาย แม้ทั้ง 2 เหล่านี้.
2. ธรรมที่เป็นสเหตุกธรรมแต่ไม่ใช่เหตุธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นสเหตุกธรรมแต่ไม่ใช่เหตุธรรม ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ก่อ
มานะ ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ฯลฯ ความปรารถนา แล้วให้ทาน ฯลฯ ทำลาย
สงฆ์.
ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ แก่ความ
ปรารถนา แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
ในสเหตุมูลกนัย พึงให้พิสดารโดยเหตุนี้ ที่เหลือนอกนั้น มี 2 วาระ.
3. ธรรมที่เป็นทั้งเหตุธรรมและสเหตุกธรรม และ
ธรรมที่เป็นสเหตุกธรรมแต่ไม่ใช่เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่
เป็นทั้งเหตุธรรมและสเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
เหตุธรรมทั้งหลาย และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่เหตุ
ธรรมทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
พึงถามถึงมูล 2.

เหตุธรรมทั้งหลาย และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้ง
หลายที่เป็นสเหตุกธรรมแต่ไม่ใช่เหตุธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
พึงถามถึงมูล.
เหตุธรรมทั้งหลาย และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่เหตุ
ธรรมทั้งหลาย และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

10. อาเสวนปัจจัย


[117] 1. ธรรมที่เป็นทั้งเหตุธรรมและสเหตุกธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งเหตุธรรมและสเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของ
อาเสวนปัจจัย (เหมือนอนันตรปัจจัย)


11. กัมมปัจจัย


[118] 1. ธรรมที่เป็นสเหตุกธรรมแต่ไม่ใช่เหตุธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นสเหตุกธรรมแต่ไม่ใช่เหตุธรรม ด้วยอำนาจของ
กัมมปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นสเหตุกธรรมแต่ไม่ใช่เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.